ส่งเสริมการอ่าน วิชาบูรณาการภาษาไทย – สังคมศึกษา มัธยม ๑ เทอม ๑/๒๕๖๐ “ย่านเก่าเมืองกรุง”
เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ย่านเก่า ได้แก่ ย่านมหานาค ย่านกุฎีจีน ย่านตลาดน้อย และย่านบ้านญวนสามเสน มีเป้าหมายให้นักเรียนได้เรียนรู้ลักษณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน จนนำมาสู่การตั้งเมืองหลวงและเมืองท่าค้าขาย นำไปสู่การเข้ามาของผู้คนที่หลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม จนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ และได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์กลายเป็นมรดกตกทอดมายังคนกรุงเทพฯ ปัจจุบัน
ห้องสมุดมัธยมได้คัดสรรหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในวิชานี้ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถยืมอ่านเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ดังนี้
มหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์
โดย คณะกรรมการอำนวยการจัดพิมพ์หนังสือมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์
หนังสือนี้สดุดีและนำเสนอพระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งการบำรุงพระพุทธศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร รวมถึงพระบรมราชวิจารณญาณบันดาลให้สยามรอดพ้นภัยในสมัยต่อมาโดยสวัสดี
พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
โดย ภัทรา วงศ์วัฒนา
หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ได้ทรงอุทิศพระวรกายและความสุขส่วนพระองค์เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ
๙ รัชกาล ราชจักรีวงศ์ พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี
โดย ปวฎา วสมน
หนังสือเล่มนี้มุ่งเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีในแต่ละรัชกาลได้ทรงบำเพ็ญตลอดมา
เกร็ดพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
โดย ลำจุล ฮวบเจริญ
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวคุณงามความดีของบรรพบุรุษด้วยภาษาเรียบง่าย ชวนติดตาม รวมถึงเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละรัชกาลตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
เจ้าชีวิต พงศาวดาร ๙ รัชกาล แห่งราชวงศ์จักรี
โดย พระเจ้าวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ครอบคลุมถึงประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนสังคมประเพณีไทยในรัชสมัยต่างๆ โดยมีภาพประกอบหายากตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๙)
โดย ปวฎา วสมน
หนังสือเล่มนี้มุ่งเผยแพร่พระราช-ประวัติ พระราชกรณียกิจ เหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญ และแนวทางการปฏิรูปประเทศในแต่ละรัชกาล
รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โดย ทีมงาน E. Q. Plus Adventure
นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบการ์ตูน พาท่องไปในยุคทองของวรรณคดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของศึกสุดท้ายกับพม่า พิพาทกับเขมร ขัดแย้งกับอังกฤษ และประปรีชาสามารถด้านการปกครอง
รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย ทีมงาน E. Q. Plus Adventure
นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบการ์ตูน บอกเล่าเรื่องราวของพระมหากษัตริย์นักค้า ผู้พลิกสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองให้กลับมามั่งคั่งในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์อันเป็นยุคแห่งการค้าของสยาม นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวการรบกับญวน ปราบอั้งยี่ และการบูรณวัดโพธิ์
รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โดย ทีมงาน E. Q. Plus Adventure
นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบการ์ตูน บอกเล่าเรื่องราวองค์ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์จักรี ตั้งราชธานี ทำสงครามกับพม่าในศึกเก้าทัพ และการตรากฎหมายที่รู้จักกันว่า “กฎหมายตราสามดวง”
หนังสือชุดภาพ กรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี
โดย องค์การค้าของคุรุสภา
หนังสือนี้บันทึกเรื่องราวกรุงรัตนโกสินทร์ในรอบ ๒๐๐ ปี ทั้งในด้านพระราชประวัติ ๙ รัชกาล และเหตุการณ์บ้านเมือง โดยวาดภาพตามความเป็นจริงหรือใกล้เคียงของจริงเท่าที่จะทำได้
กรุงเทพฯ มาจากไหน
โดย สุดจิตต์ วงษ์เทศ
หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลตั้งแต่ยุคสุวรรณ-ภูมิ – ทวาราวดี ยังไม่มีกรุงเทพฯ ไล่เลียงข้อมูลมาถึงช่วงทะเลโคลนก่อนมีกรุงเทพฯ คนพื้นเมืองรุ่นแรก แรกมีชื่อเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร สร้างกรุงเทพฯ ซ้อนกรุงธนบุรี จนกลายมาเป็นกรุงเทพฯ ยุคปัจจุบัน
สงครามใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดย อาณัติ อนันตภาค
หนังสือเล่มนี้รวมเรื่องราวปฐมบทการสร้างบ้านสร้างเมืองของคนไทย ผ่านสงครามรอบบ้านรอบเมือง ครั้งยิ่งใหญ่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ – ๓ ทั้งพม่า ปัตตานี เขมร ลาว ญวน สะท้อนพระปรีชาสามารถองค์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสมัยต้นที่นำพาประเทศให้ก้าวพ้นภาวะวิกฤติของการสูญเสีย ที่มาแห่งความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย
๑. ย่านบ้านญวนสามเสน
ญวนที่บ้านสามเสนนับถือศาสนาคริสต์ เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมวัดส้มเกลี้ยง พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโบสถ์ทำด้วยไม้ไผ่ซึ่งก็คือวัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ในปัจจุบัน และให้ญวนเข้ารีตนี้เข้าสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ได้ชื่อว่าเป็นทหารที่มีฝีมือและกล้าหาญ ช่วยทำการสู้รบป้องกันประเทศหลายครั้ง ปัจจุบันยังคงรักษาเชื้อชาติดั้งเดิมไว้ได้ ญวนที่บ้านสามเสนจึงมีเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจใคร่รู้มากมาย
๑๘๐ ปี สมโภชวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน
โดย สกาวรัตน์ ธรรมภิรักษ์
สมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้คริสตังญวนตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณวัดส้มเกลี้ยง ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโบสถ์หลังแรก ชื่อว่า “วัดฟรังซิสเซเวียร์”
ข้างครัวตะวันออก
โดย พิชัย วาศนาส่ง
นำเสนอปรัชญาการประกอบอาหาร ของชาวเอเชียทั้งอาหารญี่ปุ่น เกาหลี จีน โดยเฉพาะอาหารเวียดนาม ที่มีสิ่งละม้าย คล้ายคลึงกับครัวไทยหลายอย่าง โดยเฉพาะน้ำปลาและน้ำพริก
ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๑]
โดย ปราณี กล่ำส้ม
นำเสนอเนื้อหาโดยการเรียงลำดับจากย่านเก่ากลางเมืองหลวง ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนที่มีเรื่องราวเล่าขาน ประวัติความเป็นมาอย่างมากมาย แล้วขยายออกไปในย่านชานเมือง เช่น ย่านสามเสน ตั้งแต่สมัยที่บริเวณสามเสนยังเป็นทุ่งนา เรียกกันว่าทุ่งสามเสน
ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๒]
โดย ปราณี กล่ำส้ม
หนังสือเล่มนี้รวบรวมเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์สังคมของกรุงเทพฯ ผ่าน ความทรงจำของผู้คนร่วมสมัยเมื่อ ๔๐ – ๕๐ ปีที่แล้ว ย่านเก่าที่น่าสนใจ คือ ย่านสามเสน ที่มีเรื่องราวเค้าเงื่อนปรากฏอยู่หลายแห่งทั้งในนิทานปรัมปรา เล่าสืบต่อกันมาถึงเรื่องพระลอยน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามแสน หรือสามเสน
๒. ย่านกุฏีจีน
ย่านกุฏีจีนมีมาตั้งแต่สมัยครั้งกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงพระราชทานที่ดินแก่ชุมชนชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เป็นศูนย์รวมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวไทย จีน ญวน มอญ และโปรตุเกส ที่อยู่ร่วมกันอย่างผสานกลมกลืน ร่องรอยที่ยังคงความงดงามคือ โบสถ์ซางตาครู้ส ศาลเจ้าเกียนอันเกง และขนมขึ้นชื่ออย่างขนมฝรั่งกุฎีจีน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสูตรและวิธีการทำมาจากชาวโปรตุเกส
เยี่ยมเรือนเยือนอดีต
โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ
นำผู้อ่านท่องไปเยือนถิ่นกำเนิดสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ ในยุโรป ผ่าน ๓๔ เรือนสยาม เพื่อถามหาความทรงจำเมื่อ ครั้งลมตะวันตกพัดผ่านเรือนตะวันออก
ร้อยแปด [ที่] กรุงเทพฯ
โดย ส.พลายน้อย
พาผู้อ่านไปพบสถานที่เก่าแก่แต่ครั้งสร้างกรุง เจาะลึกถึงที่มาและความสำคัญของสถานที่นั้นๆ อัน เกี่ยวพันกับเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคก่อน นับเป็น จุดเริ่มต้นในการสืบค้นประวัติศาสตร์ของกรุงรัตน โกสินทร์ผ่านสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ
หมื่น ร้อย พัน ผสาน สิ่งดี วัฒนธรรมประเพณี วิถีไทย
โดย ดาวรัตน์ ชูทรัพย์
เป็นหนังสือที่เก็บเล็กผสมน้อย ผสานขึ้นให้เห็นวิถีไทย จิตวิญญาณไทย ซึ่งเกิดจากวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต สังคม แนวคิด แบ่งเนื้อหาเป็น ๗ หมวด คือ ถ้อยคำ สำนวน ชวนกิน ถิ่นไทย นัยประวัติ อรรถอุบาย และสืบสายวัฒนธรรม
ของดีกรุงเทพฯ
โดย ชญานี ขุนกัน
ผู้เขียนนำเสนอสถานที่ที่สามารถเชื่อมร้อยเรื่องราวต่างๆ ทั่วปริมณฑลกรุงเทพฯ ครอบคลุมสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรม แม่น้ำลำคลอง แหล่งจับจ่าย โดยมุ่งเน้นในส่วนของวิถีชุมชน
สวัสดีสยาม จากเพื่อนโปรตุเกส
โดย ปรีดี พิศภูมิวิถี
หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงเนื้อหาโดยใช้เอกสารทั้งของไทยและต่างประเทศ บอกเล่าความสัมพันธ์สองประเทศผ่านด้านการค้า การทูต และอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้กลับไปรู้จักเพื่อนคนแรกของสยามอีกครั้ง
๔๗๐ ปี แห่งมิตรสัมพันธ์ระหว่างไทยและโปรตุเกส
โดย กรมศิลปากร
นำเสนอประวัติความสัมพันธ์ระหว่างไทยและโปรตุเกสโดยย่อ นับตั้งแต่มีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.๒๐๕๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน
บางกอกสัญจร
โดย ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการท่องเที่ยวในย่านสำคัญของกรุงเทพฯ เพื่อช่วยในการวางแผนท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ได้สนุกสนานเพลิดเพลินขึ้น
สู่กรุงเทพฯ เมืองเก่า
โดย ประทุมพร
ผู้เขียนนำผู้อ่านย้อนยุคไปเมื่อครั้งแรกสร้าง เพื่อให้เห็นวิวัฒนาการการสร้างบ้านแปงเมืองของไทย การสร้างปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ตึกรามบ้านช่อง
๓. ย่านตลาดน้อย
ย่านชุมชนตลาดน้อย เป็นหนึ่งในย่านที่มีความหลากหลายมากที่สุด ปรากฏวัฒนธรรมทั้งไทย จีน ญวน ฝรั่งต่างชาติ ร่องรอยความยิ่งใหญ่ของชุมชนนี้มีทั้งอาคารเก่าแก่ที่เคยเป็นโกดังสินค้า อาคารบ้านเรือนแบบโบราณ บ้านเจ้าสัวหลายสกุล และศาสนสถานของหลายชนชาติที่อยู่ด้วยกันได้อย่างผสมกลมกลืน สถานที่สำคัญในการเยือนตลาดน้อยคือวัดต่างๆ เช่น วัดปทุมคงคา วัดอุภัยราชบำรุง วัดพระแม่ลูกประคำ ฯลฯ ที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมต่างกันไปและปัจจุบันยังอยู่ในสภาพดี โดยเฉพาะศาลเจ้าโจวซือกง บ้านโซวเฮงไถ่ คฤหาสน์ประจำตระกูลโปษยะจินดา ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า ๒๕๐ ปี นอกจากนี้ตลาดน้อยยังเป็นแหล่งลิ้มลองอาหารคาวหวานรสชาติดั้งเดิม เพราะคนในย่านนี้ยังสืบทอดกิจการหลายอย่างจากบรรพบุรุษ
ศาลเจ้า ศรัทธาสถานแห่งบางกอก
โดย สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร
หนังสือเล่มนี้รวบรวมประวัติความเป็นมาของศาลเจ้า คุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณโดยรอบศาลเจ้า เพื่อเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเมืองทั้งด้านการอนุรักษ์ ตลอดจนการพัฒนาชุมชนให้มีความแข็งแรง
ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ
โดย น. ณ ปากน้ำ
ผู้เขียนจะพาเดินย่ำต๊อกไปตามถิ่นฐานย่านเก่าของพระนครผ่านตัวอักษร โดยแทรกเกร็ดความรู้ความคิดเห็นต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้นๆ
ที่เรียกว่า “แต้จิ๋ว”
โดย เสี่ยวจิว
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนรวบรวมสิ่งที่เคยเห็น เคยกิน เคยทำ บอกเล่าเรื่องราวของบรรพชนแต้จิ๋วผ่านจิต-วิญญาณของความร่วมมือ ความสามัคคี และการสืบสานวัฒนธรรมแต้จิ๋ว
นิยายปลายตะเกียบ
โดย ประยงค์ อนันทวงศ์
เป็นตำนานเกี่ยวกับอาหารการกินของจีนที่เล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน อาหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และเทศกาลประเพณี ท้ายเล่มได้ผนวกคำภาษาจีนเกี่ยวกับอาหารที่คนไทยนำมาใช้ในภาษาไทยด้วย
๔. ย่านมหานาค
หลังจากรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงโปรดให้ย้ายพระนครมาสร้างทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาและขุดคูคลองล้อมรอบพระนคร สร้างป้อมปราการเรียบร้อยแล้ว พ.ศ.๒๕๒๘ ทรงโปรดให้ขุดคูคลองตรงเหนือวัดสะแกตรงไปทางตะวันออก พระราชทานนามว่า “คลองมหานาค” เพื่อให้ไพร่ฟ้าได้ใช้เล่นเพลงเรือดอกสร้อยสักวา ช่างฝีมือชาวมุสลิมที่อพยพจากปัตตานีได้เข้ามาอาศัยริมคลองมหานาคแห่งนี้ ถวายตัวเข้ารับราชกาลในรัชกาลที่ ๑ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หิ้วตะกร้าตามหาผักพื้นบ้าน
โดย อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ
ผู้เขียนฉายภาพแม่ค้าพ่อขายที่นำผักพื้นถิ่น มาตั้งแผงขายในตลาดสด ๖๓ ตลาด ทั้งตลาดในย่านเก่า ตลาดบ้านสวน ตลาดปากซอยบ้าน ตลาดร้านย่านชุมชน ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงได้มาจับจ่ายไปทำกินกัน
พระนครเมื่อกาลก่อน
โดย ป.บุนนาค
กรุงเทพฯ ดำรงความเป็นเมืองหลวงมากว่า ๒๐๐ ปี ทุกสถานที่ย่อมมีเรื่องเล่า มีที่มา พระนครเมื่อกาลก่อนจะเล่าเรื่องเมืองหลวงจากภาพถ่ายโบราณผ่านสู่ยุคปัจจุบัน
อาหารมุสลิม
โดย อบเชย อิ่มสบาย
ตำราอาหารมุสลิมเล่มนี้บอกเล่าความเป็นมาและลักษณะอาหารมุสลิมที่ถูกต้อง สามารถทำตามได้ไม่ยากด้วยภาพขั้นตอนการปรุง ลำดับวิธีการปรุงที่ชัดเจน
ชื่อนี้มีที่มา ชุด กรุงเทพมหานคร
โดย กองบรรณาธิการ
รวบรวมประวัติความเป็นมาสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ มาร่วมกันค้นหาคำตอบที่ยังหลงเหลือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตในอดีต ก่อนจะเป็นกรุงเทพฯ ในทุกวันนี้
ลำคลองโบราณ สะพานสำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์
โดย ภาณุทรรศน์
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประวัติของลำคลอง สะพาน ท่าเรือต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจมาก ทำให้ทราบเรื่องราวต่างๆ ทั้งเกิดจากความจำเป็น และเกิดจากความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคสมัยนั้นๆ
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก
บันทึก