Workshop การ์ตูนประวัติศาสตร์สร้างสรรค์
เมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน 2560 ห้องสมุดมัธยมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์ อี.คิว.พลัส เชิญวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “การ์ตูนประวัติศาสตร์สร้างสรรค์” นำโดย คุณอภิญญา ปัญญไพโรจน์ (พี่หนุน) บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ อี.คิว.พลัส และ คุณธนะ เรืองพชร (พี่นิค) นักวาดการ์ตูน มาบรรยายและจัดกิจกรรม Work shop ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในหน่วยการเรียนบูรณาการสังคม – ภาษาไทย โครงงาน “แรกมีในสยาม”
ในช่วงแรก คุณอภิญญาได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์การ์ตูน ซึ่งประกอบไปด้วย
- Content หรือเนื้อหาของเรื่อง การกำหนดเนื้อหาของเรื่องว่าจะเป็นการ์ตูนเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, เรื่องจากประสบการณ์ตรง ฯลฯ
- เลือกประเภทหรือแนวเรื่องของการ์ตูนที่ตนเองสนใจ เช่น การ์ตูนแนวFantasy, Comedy, Romantic , Thriller ฯลฯ “เรื่องที่ ไลค์ จะได้ไอเดีย”
- การแต่งเรื่อง ซึ่งมีหัวใจอยู่ 3 ข้อ คือ การสร้าง
World คือโลกของตัวละครที่ปรากฎในโลก สถานที่คือที่ไหน เวลาใด ยุคไหน ตัวอย่างเช่น แฮร์รี่ พอต เตอร์ โลกของเรื่องนี้คือ โลกที่เป็นอังกฤษ กับอีกโลกคือ ฮอกวอร์ดเป็นโลกเวทย์มนต์
Characters+ target ตัวละคร มาพร้อมกับจุดมุ่งหมาย
Obstacles อุปสรรค เป็นเหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
เมื่อกำหนด หัวใจ 3 ข้อนี้แล้วจึงเข้าสู่การแต่งเนื้อเรื่อง ตามโครงเรื่องที่เรากำหนด
- นำเนื้อเรื่องมาแบ่งโครงสร้างเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงเกริ่น, ช่วงดำเนินเรื่อง, ช่วงไคลแมกซ์, ช่วงตบมุก / บทสรุป หัวใจสำคัญของการ์ตูนคือการเล่าเรื่อง เรื่องต้องสนุก ส่วนการวาดภาพสวยจะช่วยส่งให้การ์ตูนสนุก
- วาดสตอรี่บอร์ด ถ่ายทอดเนื้อเรื่องสู่ภาพร่าง ยังไม่เน้นความสวยงาม ประกอบด้วย Partitions (เกริ่น, เดินเรื่อง, ไคลแมกซ์, ตบมุก), Composition การจัดวางภาพประกอบเรื่อง , Dialogue บทสนทนา ในไทยจะจัดวางภาพและบทสนทนา จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง ซึ่งมีความสำคัญเพราะหากผู้อ่านไม่คุ้นชิน การ์ตูนเรื่องนั้นก็จะไม่น่าสนใจไปเลย
- การออกแบบตัวละคร ต้องคำนึงถึงเรื่องราว ข้อมูลและบุคลิกตัวละคร,
- วาดภาพลายเส้น นำเอาสตอรี่บอร์ดมาวาดภาพลายเส้นจริงให้มีรายละเอียดชัดเจน เป็นรูปร่างที่ชัดเจน สวยงาม , ลงสีภาพวาดทำให้ภาพเกิดมิติ เกิดความสวยงาม
ช่วงที่สอง เข้าสู่การทำ Workshop การเขียนการ์ตูนความรู้ โดยเริ่มจากการแต่งเนื้อเรื่อง ตามองค์ประกอบที่บรรยายข้างต้น นำมาวาดสตอรี่บอร์ด “คอมมิกแก๊ก 4 ช่อง” ต่อด้วย วาดสตอรี่บอร์ด “คอมมิค 2 หน้า ในเวลาที่จำกัดนักเรียนสามารถแต่งเรื่องและวาดสตอรี่บอร์ดการ์ตูนอย่างง่ายๆได้
ตัวอย่างการเล่าเรื่องและสตอรี่บอร์ด 4 แก๊กของนักเรียน
ขอขอบคุณ วิทยากรจาก ทีมงาน อี.คิว.พลัส ที่มาให้ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์การ์ตูนให้แก่นักเรียน ซึ่งนักเรียนจะได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาต่อยอดในชั้นเรียนต่อไป