บันทึกรุ่งอรุณ,  โรงเรียนรุ่งอรุณ

การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน

การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน
มนุษย์มีความสามารถแท้ที่เหนือกว่าการพิชิตธรรมชาติ
คือทางสายกลางที่สร้างระบบความสัมพันธ์แห่งความเจริญที่เกื้อกูลกัน

องค์ประกอบในการอยู่ด้วยดีของมนุษย์มี ๓ ส่วน คือ
๑. ชีวิตมนุษย์
๒. สังคม
๓. สิ่งแวดล้อม หรือธรรมชาติ
สามส่วนนี้จะต้องเกื้อกูลประสานกัน มนุษย์จึงจะอยู่รอด

– สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
จากหนังสือ “การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน”, พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

 

รุ่งอรุณแห่งศตวรรษใหม่
พัฒนาคน เพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ “ภูมิรมณีย์”
ที่โน้มนำใจผู้เรียนไปสู่กุศลธรรม

ดำเนินวิถีกิจวัตรที่ก่อให้เกิดสติสัมปชัญญะเพื่อการพึ่งพาตนเอง
และนำมงคลชีวิตมาออกแบบการเรียนรู้ให้เห็นคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

บูรณาการปัญหา “สิ่งแวดล้อม” เป็นโจทย์การเรียนรู้
ให้ผู้เรียนตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ และใช้ชีวิตที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

เปิดพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)
ที่ท้าทายศักยภาพตามวัย เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตน

อนุบาล
บูรณาการ เล่นเป็นเรียนในธรรมชาติ

เด็กเรียนรู้ตนและโลกผ่านการเล่น
เล่นอิสระในธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและธรรมชาติรอบตัว
เล่น ทดลอง ลงมือทำ
ให้เกิดประสบการณ์ตรง และพัฒนาการทางภาษา
และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องราวนั้นๆ ของเด็กแต่ละคน

ประถม
สร้างหัวใจรักสิ่งแวดล้อม

เล่น เรียนรู้ สังเกต และเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติรอบตัว
ฉลาดรู้และเข้าใจความหมายของภาษาต่างๆ ที่สื่อออกมา (multiliteracy)
สร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม
ด้วยโจทย์โครงงานบูรณาการที่เชื่อมโยงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มัธยม
สร้างนักรบสายรุ้ง ผู้มีวิถีที่ไม่เป็นโมฆะ

สร้างพื้นที่การเรียนรู้แบบ Studio-based Learning และ Co-working Space
ที่เปิดกว้างทั้งทางกายภาพ สาระ และวิธีการศึกษาเรียนรู้
ท้าทายผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่
บูรณาการการเรียนรู้สถานการณ์จริงทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
อย่างเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน