บันทึกรุ่งอรุณ,  โรงเรียนรุ่งอรุณ

รร.รุ่งอรุณร่วมเสนอทางออก-ปลดล็อกการศึกษาไทย

A
เครือข่ายการศึกษานำเสนอ “ปลดล็อกการศึกษาไทย ปฏิวัติด้วยรอยยิ้มของทุกภาคส่วน”

ในงานสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๖ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

B
ก่อนวันงานหนึ่งวัน ใน
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนมัธยมรุ่งอรุณ ร่วมพูดคุยในรายการเวทีสาธารณะ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กรณียุบโรงเรียนขนาดเล็ก ในหัวข้อ “ขอคืนพื้นที่การศึกษา” วิพากษ์มาตรการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ และระบบบริหารจัดการการศึกษาที่รวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง รวมทั้งการนำเสนอทางออกอื่นๆ ที่ควรจะเป็นในกระบวนการปฏิรูปการศึกษาไทย

logoชมรายการเวทีสาธารณะ ตอน ขอคืนพื้นที่การศึกษาไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖…คลิก

 

C

วันศุกร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๓๐-๑๒.๓๐ น. กลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมโรงเรียนรุ่งอรุณเสนอมุมมองผ่านละครสะท้อนปัญหาการขาดอิสระทางการศึกษา และตัวแทนเครือข่ายการศึกษายื่นข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาต่อนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน


D-crop

วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๔.๐๐ น. ตัวแทนเครือข่ายภาคการศึกษา ทั้งภาครัฐ เอกชน การศึกษาทางเลือก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เด็กและเยาวชน  ร่วมกันปลดล็อกข้อติดขัดบนความคิด มองทิศ บอกทาง สร้างทัศนะใหม่ให้แก่สังคมไทย สู่ระบบการศึกษาไทยในศตวรรษที่ ๒๑  บนเวทีสาธารณะ : พลเมืองปลดล็อกระบบการศึกษาไทย  ประกอบด้วยผู้ร่วมเสวนา อาทิ พระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่  รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ  อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก  ดร.มีชัย วีระไวทยะ ผอ.โรงเรียนมีชัยพัฒนา  รศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน อ.สมบูรณ์ รินท้าว ผอ.โรงเรียนบ้านนาซาว จ.น่าน อ.อดุลย์ ภู่ภัทรางค์ ผอ.โรงเรียนมะค่าวิทยา จ.นครนายก และ  ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ รักษาการ ผอ.สถาบันรามจิตติ

 “การศึกษาทางเลือก ที่จริงต้องเรียกว่าการศึกษาทางรอด แต่เรียกการศึกษาทางเลือกนั้นหมายถึงเป็นการศึกษาที่เราเลือกได้ ไม่ใช่ถูกยัดเยียดให้เรียน เป็นการศึกษาที่เราสามารถเลือกเรียนสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชีวิต และสร้างการเติบโตอย่างรอบด้านให้ผู้เรียน แต่การศึกษาในปัจจุบันเน้นเรื่องการแข่งขัน แต่คุณภาพกลับหายไป ความเป็นมนุษย์หายไป การศึกษาที่ทำให้คนขาดแคลนความเป็นมนุษย์ ทำให้ผู้เรียนทิ้งถิ่น  ไม่น่าจะใช่การศึกษาที่ถูกต้อง ถ้าเราขาดผู้คนในท้องถิ่นคอยดูแลพื้นที่ ดูแลชุมชน จะเป็นอย่างไร การศึกษาจึงไม่ใช่การเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องเรียนจากสถานการณ์จริง ปัญหาจริง เชื่อมโยงตัวเองกับผู้อื่น และใช้ได้จริง แล้วจะเป็นการศึกษาทางเลือกและการศึกษาทางรอดของประเทศไทยรศ.ประภาภัทร นิยม

“ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันเน้นอ่านออก เขียนได้ แต่ไม่เน้นการคิดนอกกรอบและการสร้างนวัตกรรม เน้นสร้างคนส่วนใหญ่ให้เป็นผู้ตาม ไม่ใช่ผู้นำ เรากำลังสร้างคนของเมื่อวาน ไม่ใช่คนของวันนี้หรือของอนาคต ดังนั้นระบบการศึกษาไทยต้องเปลี่ยน ให้นักเรียนรู้จักค้นคว้า มีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบ และสามารถสร้างนวัตกรรมในการดำรงชีวิต  พร้อมทั้งเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และศูนย์กลางการพัฒนาของชุมชน” ดร.มีชัย วีระไวทยะ

“เราต้องตั้งคำถามว่า เราจัดการศึกษาเพื่ออะไร ยุคหนึ่งเราบอกว่าเพื่อหลอมและเหลา บางคนบอกเพื่อสอนและสร้าง หรือบางคนเรียกว่าบวร คือ วัด บ้าน โรงเรียน ถ้าเอาหลักนี้มาจับ การศึกษาปัจจุบันนับว่าใช้ไม่ได้จริงๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๙ ระบุว่า รัฐต้องจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง แต่รัฐไม่ได้ทำ ถึงทำก็ไม่ได้ความ ไม่ได้คุณภาพ และไม่ทั่วถึง ที่ผ่านมาเราพบว่าปัญหาการศึกษามีอยู่ด้วยกัน ๒๖ ข้อ แต่ปัจจุบันดิฉันขอเพิ่มเป็น ๒๗ ข้อ คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่เข้าใจเรื่องการศึกษาเท่าที่ควร” รศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน

F

นิทรรศการปลดล็อก-เสนอทางออกให้การศึกษาไทย 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.