b01
บทความทั่วไป

“บ้านหลังใหม่” ที่เราจะอยู่และเรียนรู้ไปด้วยกัน

“บ้านหลังใหม่” ที่เราจะอยู่และเรียนรู้ไปด้วยกัน

b01                เมื่อปีการศึกษาใหม่เริ่มต้นขึ้น ปีนี้ไม่ใช่เฉพาะการเปิดภาคเรียนเท่านั้นที่เป็นสิ่งใหม่ แต่ชาวรุ่งอรุณยังมีสิ่งใหม่ ๆ (ในความเก่า) เพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ การ “ย้ายบ้าน” จากอาคารรพินทร มาสู่อาคารประภาคารและอาคารประกายฟ้า ซึ่งผ่านการปรับปรุงจนพร้อมต้อนรับพวกเราในปีการศึกษานี้ และเช่นเคย…เมื่อการเปิดเทอมใหม่เริ่มขึ้น ก็เป็นเวลาที่ทั้งผู้ปกครองและครูจะมีโอกาสมาพบกันอย่างเป็นทางการ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันกับกระบวนการเรียนรู้ และวิถีชีวิตในโรงเรียนของลูกๆ ของเราหรืออาจหรือเรียกว่า “งานปฐมนิเทศ” นั่นเอง หลักการของการ “ปฐมนิเทศ” ของรุ่งอรุณ คือ การทำความรู้จัก เข้าใจวิถีชีวิตและการเรียนรู้ของลูก โดยที่พ่อ – แม่เรียนรู้ก่อน ดังนั้นในทุกระดับชั้นจึงเป็นกิจกรรที่ต้องลงมือทำ

เริ่มตั้งแต่น้องใหม่อนุบาล 1

               เป็นเรื่องแน่นอนที่เด็ก ๆ วัยสามขวบกว่าจะยังคงต้องการเวลาในการปรับตัวปรับใจในการพลัดพรากจากพ่อแม่ และบ้านที่คุ้นเคย มาสู่โรงเรียน แต่กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนจะมีส่วนช่วยในการปรับตัวนี้ในช่วงต้นเติมเรื่องครูแบ่งผู้ปกครองในห้องออกเป็น ๒ กลุ่ม เพื่อสลับกันมาอยู่กับลูก เพื่อช่วยพาลูกปรับตัวและผู้ปกครองได้เห็นวิถีชีวิตเกิดความเข้าใจ โดยครูจะจัดลำดับกิจกรรมในวิถีชีวิตให้ราบรื่น เพื่อเด็กจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จนเด็กสามารถปรับตัวปรับใจเข้ากับกิจวัตรได้อย่างกลมกลืน
               เริ่มจากการทำกิจกรรมวงกลม ครูพาเด็ก ๆ ร้องเพลง ฟังนิทาน และเคลื่อนไหวร่างกายไปรอบ ๆ บริเวณห้องเรียน เพื่อให้เด็กรับรู้วิถีชีวิตแห่งการอยู่ร่วมกัน โดยใช้เพลงเป็นสัญลักษณ์ในการเปลี่ยนกิจกรรมต่าง ๆ

b02ความใส่ใจของครู ครูมีวิธีการเข้าหาเด็กที่นุ่มนวล สังเกตเด็กเป็นรายบุคคล ตั้งแต่เช้าเมื่อเด็กมาถึงห้องเรียนจะมีการทักทาย หรือโอบกอดเพื่อสัมผัสร่างกายของเด็ก ครูจะมีจังหวะในการเข้าช่วยเหลือเด็กตามความต้องการของแต่ละคน เมื่อเด็กขอความช่วยเหลือจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเล่นกลางแจ้ง ลานทราย สนามหญ้า และบริเวณต่าง ๆ ภายในโรงเรียน ความใส่ใจในเรื่องของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ครูจะถามข้อมูลจากผู้ปกครองเกี่ยวกับตัวเด็ก เมื่อพบว่า เด็กมีอาการแพ้อาหาร เช่น แพ้กุ้ง แพ้ไข่ แพ้ไก่ หรือแพ้อาหารประเภทอื่น ๆ ครูจะจัดเตรียมอาหารเพื่อทดแทนไว้สำหรับเด็ก ส่วนอาหารที่เด็กไม่คุ้นเคย ครูจะชักชวนให้เด็กพิจารณาว่ามีอะไรที่เด็กพอจะลองรับประทานได้บ้างและให้เด็กได้ตักอาหารรับประทานเอง

b03สถานที่ที่เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองสำหรับเด็ก โดยยึดหลักความปลอดภัยเป็นสำคัญ ครูจะคอยรับเด็กตั้งแต่บริเวณวงเวียน ประตูหน้าอนุบาล ตลอดจนทางเดินก่อนเข้าห้องเรียน และในการวางรองเท้า ครูจะจัดทำสัญลักษณ์ประจำห้องในการวางเท้าสำหรับเด็กเพื่อง่ายต่อการจดจำ

ภายในห้องเรียน การจัดเก็บของใช้ส่วนตัวไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า กระติกน้ำ ครูจะให้เด็ก ๆ เป็นผู้เลือกชั้นวางของ และทำสัญลักษณ์ของตนเอง

ในการเล่นของเล่น ครูจะเปิดมุมของเล่น เช่น แป้งโด ที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ครูเป็นผู้ลงมือทำเองโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ มุมไม้บล็อก เป็นไม้บล็อกขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับมือเด็ก และมีน้ำหนักเบา มุมตุ๊กตาผ้าเป็นฝีมือของครูเช่นกัน

b04ผลที่เกิดขึ้นพบว่า ระยะเวลาในการร้องไห้ลดน้อยลง เด็กเริ่มซึมซับรับรู้วิถีชีวิตในหนึ่งวัน เกิดความไว้วางใจในตัวครู และสถานที่มากขึ้นโดยสังเกตจากรอยยิ้มของเด็ก รวมถึงแววตาที่สดใสเปล่งประกายในเวลาฟังนิทาน เด็กสามารถพูดคำซ้ำ ๆ จากนิทานที่ครูเล่าได้ เริ่มก้าวข้ามความกังวลที่อยากกลับบ้าน แล้วหันมาเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

พี่คนกลาง อนุบาล ๒
กิจกรรมปฐมนิเทศของระดับชั้นอนุบาล ๒ แบ่งเป็น ๔ ฐานได้แก่

b05ฐานที่ ๑ ฐานเย็บผ้า เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองได้ลงมือทำ โดยให้เย็บผ้าทั้ง ๔ ด้านโดยเว้นมุมสำหรับติดเชือกไหมพรม ตกแต่งลวดลายด้วยไหมพรมสีต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเช็ดมือ และเช็ดโต๊ะ จากกิจกรรมฐานเย็บผ้า เด็กสามารถนำผ้าที่เย็บนำไปเช็ดมือ เช็ดโต๊ะได้

b06ฐานที่ ๒ ฐานม้วนไหมพรม เพื่อทำปอมปอม การม้วนไหมพรม เป็นการสร้างสมาธิ สงบนิ่ง การผ่อนคลายจิตใจที่เหนื่อยจากการเร่งรีบ เป็นการเปิดสมองเพื่อรับสิ่งใหม่ได้อย่างเป็นที่ ส่วนของ

b07การทำปอมปอม เราจะให้เด็กทำปอมปอม โดยให้พันไหมพรมกับกระดาษวงกลมที่เตรียมไว้ เด็กจะเป็นผู้พันของตนเอง บางคนพันออกจากตัว บางคนพันเข้าหาตัว ในการพันไหมพรมเด็กอาจเกิดปัญหาจากการพัน เด็ก

เป็นผู้แก้ปัญหาเอง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ พัฒนาการด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ทำงานประสาทสัมพันธ์กับตา เด็กได้เรียนรู้เรื่องของภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประสาทสัมผัสทั้ง ๕ จากการทำผลงาน เช่น สามารถบอกสีที่ตนเองต้องการได้ บอกขนาดความสั้น – ยาวของไหมพรมได้ และเรียนรู้เรื่องผิวสัมผัส
b09ฐานที่ ๓ ฐานสวนครัว และจัดสถานที่ให้สวยงาม ซึ่งผู้ปกครองที่มาร่วมงานปฐมนิเทศในวันนั้น ได้ร่วมแรงกาย แรงใจกันเต็มที่ในการจัดตกแต่งสวนบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน
ฐานที่ ๔ ฐานการทำอาหาร “สัปปะรดลอยแก้ว” เป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบเพราะได้ลงมือทำด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวของจริง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากกิจกรรมที่เด็ก ๆ ได้ทำ
           กิจกรรมฐานทั้ง ๔ ผู้ปกครองได้สรุปการเรียนรู้ว่า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการสร้างผลงานด้วยตนเอง ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ตนได้ทำขึ้น เด็กจะเกิดความเพียรพยายามในการทำผลงานแม้จะใช้ระยะเวลาในการทำที่ยาวนาน เป็นการฝึกสมาธิให้กับเด็ก เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์ และเผยตัวตนของตนเองออกมา รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และธรรมชาติรอบตัวได้ โดยเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของภาษา คำศัพท์ใหม่ ๆ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับผลงานที่เด็ก ๆ ได้ทำ

พี่ใหญ่ อนุบาล ๓
b12                ประเด็นสำคัญที่ครูนำเสนอ คือ การเลี้ยงลูกให้ “แกร่ง” และ “อดทนสู่สิ่งที่ยาก” โดยเสนอ Power Point การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้พ่อแม่อดทนที่จะไม่เข้าช่วยลูกมากนัก แต่ฝึกจิตใจลูกให้อดทน ฝึกระเบียบ วินัย รู้จักชื่นชมยินดี ยิ้ม และขอบคุณชีวิต ต่อจากนั้นเป็นการนำเสนอวิถีชีวิตประจำวันของอนุบาล ๓ จบพิธีการในห้องประชุมแล้วผู้ปกครองต่างแยกย้ายเข้าห้องเรียนของลูกตนเอง เพื่อเข้าสู่กิจกรรมรับอรุณ นั่งล้อมวง สวดมนต์ นั่งสมาธิ ใช้บทเพลงสัก ๒ – ๓ เพลง หลังจากนั้นแบ่งผู้ปกครองเข้าสู่ฐานกิจกรรมทั้ง ๔ ฐาน
b13ฐานที่ ๑ ฐานขัดไม้ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา เป็นการฝึกสมาธิในระหว่างการขัดไม้ และฝึกประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ของเด็ก
ฐานที่ ๒ ฐานเฟรมไหมพรม เป็นการใช้กระดาษแข็งมาทำเป็นกรอบคล้ายกี่ทอผ้าอันเล็กๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ใช้ในการทำงานฝีมือซึ่งจะช่วยในการฝึกให้เด็กได้จดจ่อกับการงานได้
ฐานที่ ๓ ฐานเย็บถุงถั่ว เราได้เห็นภาพประทับในการที่คุณพ่อบางท่านซึ่งไม่เคยจับเข็มเย็บผ้ามาก่อนเลย แต่ก็มุ่งมั่นเต็มที่ในการทำงานชิ้นนี้ให้ลูก โดยถุงถั่วจะนำไปใช้ประกอบกิจกรรมในห้องเรียน ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จังหวะจะโคน การสอดประสานของตา มือ พร้อมทั้งการจับจังหวะที่สัมพันธ์กับเพื่อน
b14ฐานที่ ๔ ฐานการทำอาหาร “ลูกตาลลอยแก้ว” เป็นกิจกรรมที่เด็กสามารถลงมือทำได้เอง จะอยู่ในความดูแลของครู เด็กจะสนุกกับการได้ใช้อุปกรณ์เครื่องครัวของจริง จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ในเรื่องของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปในกิจกรรมนี้ด้วยเช่นกัน
กิจกรรมฐานทั้ง ๔ เป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ได้ทำจริง ซึ่งผู้ปกครองที่มาร่วมงานในวันนั้นก็สะท้อนมุมมองอย่างจริงใจว่า ได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นว่าในแต่ละวันลูกได้อยู่อย่างไร และทำอะไรบ้างที่โรงเรียน ดีใจที่ได้มารับรู้ เพื่อที่จะได้ดูแลลูกให้สอดคล้องกับทางโรงเรียนมากขึ้น

b15               การปฐมนิเทศของโรงเรียน คงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองได้เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของลูกผ่านการเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของตนจากการลงมือเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้น ครูโมยังได้ย้ำถึงการสร้างวิถีทางบ้านให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับทางโรงเรียน คือ ให้ลูกช่วยเหลือตนเองและงานในบ้าน แยกขยะที่บ้าน ที่สำคัญไม่พาลูกไปเรียนพิเศษ แต่พ่อแม่ควรสร้างวิถีชีวิตที่มีความสุขร่วมกันในบ้านมากกว่า
 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.